Last updated: 11 มิ.ย. 2567 | 261 จำนวนผู้เข้าชม |
ลูทีน (Lutein) และ
ซีแซนทีน (Zeaxanthin)
เป็นสารที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราอยู่แล้ว โดยพบว่าบริเวณเลนส์ตาและศูนย์กลางจอประสาทตา (Macula) จะมีสารเหล่านี้อยู่หนาแน่นมากที่สุด แต่เนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างลูทีนและซีแซนทีนขึ้นมาได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร ซึ่งพบมากในผักใบเขียว ไข่แดง กีวี องุ่น ซูกินี ข้าวโพด เป็นต้น หรืออาจได้รับจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นอกจากนี้ยังพบลูทีนและซีแซนทีนมากในดอกดาวเรือง ซึ่งนิยมนำมาสกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับบำรุงดวงตาอีกด้วย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ใน 600 ชนิดของแคโรทีนอยด์ที่พบในจุดรับภาพของดวงตามนุษย์ ที่มีสำคัญต่อดวงตา
โดยลูทีน เป็นเม็ดสี สีเหลืองส้มที่อยู่ในกลุ่มย่อยของแคโรทีนอยด์แซนโทฟิลล์ พบในผักใบเขียวที่มีความเข้มข้นสูง เช่น ผักโขม เคล และบรอกโคลี รวมทั้งในผลไม้บางชนิด เช่น กีวีฟรุตและองุ่น ในร่างกายมนุษย์ ลูทีนจะถูกดูดซึมจากอาหาร และจะสะสมอยู่ในจุดรับภาพ (macula) ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กๆ ใจกลางเรตินาซึ่งมีหน้าที่ในการมองเห็นที่คมชัดและมีรายละเอียด ส่วนซีแซนทีน เป็นเม็ดสี สีเหลืองส้มอีกชนิดหนึ่งและเป็นแซนโทฟิลล์แคโรทีนอยด์ด้วย มักอยู่คู่กับลูทีน และพบในอาหารชนิดเดียวกันหลายชนิด มีบทบาทสำคัญในการดูแลและบำรุงสุขภาพสายตา ปกป้องดวงตาจากคลื่นแสงพลังงานสูงที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะแสงจากสเปกตรัมแสงสีน้ำเงิน
ทั้งลูทีนและซีแซนทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ มีหน้าที่ป้องกันดวงตาจากแสงแดด หรือคลื่นแสงพลังงานสูงอย่างรังสีอัลตราไวโอเลต และกรองแสงสีฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา ซึ่งเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา เช่น แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ เป็นต้น ดังนั้น การสะสมของลูทีนและซีแซนทีนในจอประสาทตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์ทั้ง 2 ชนิดเข้าสู่ร่างกาย จึงมีส่วนช่วยลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคตาบางชนิด เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย (AMD) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ รวมถึงลดภาวะเสี่ยงการเป็นโรคต้อกระจกด้วย
โดยงานวิจัยของสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น นักวิจัยหลายคนจึงเชื่อว่าลูทีนและซีแซนทีนเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการมองเห็นและบำรุงสุขภาพดวงตา โดยเฉพาะแก้วตาและจอประสาทตา
การรับประทานลูทีนและซีแซนทีน เพื่อประโยชน์ต่อดวงตา
ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับลูทีนและซีแซนทีนในแต่ละวัน ดังนี้
แหล่งอาหารที่ให้ลูทีนที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถหารับประทานได้ง่าย นั่นก็คือ คือ ผักใบเขียว เช่น
ผลิตภัณฑ์ AI PRO มี Lutein Zeaxanthine
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับฟื้นฟู ดูแล และบำรุงดวงตาโดยเฉพาะ เน้นสารสกัดจาก ลูทีนและซีแซนทีนจากดอกดาวเรือง สารสกัดจากซีบัคธอร์น ที่มีโอเมก้า 3,6,7,9 รวมถึง Acerola Cherry มีสารเบต้าแคโรทีน และคอลลาเจนเปปไทด์ ซึ่งมีการวิจัยพบว่า
15 ก.ย. 2567
10 ก.ย. 2567
15 ก.ย. 2567