สายตาพร่ามัวเกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีการรักษาและป้องกัน

Last updated: 9 มิ.ย. 2567  |  257 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สายตาพร่ามัวเกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีการรักษาและป้องกัน

ตามัว (Blurry Vision)
สายตามัว (Blurry Vision) คือ  สภาวะดวงตาที่มีวิสัยทัศน์ในการดูสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ได้ไม่ชัดเจน มีอาการภาพเบลอทับซ้อน และการมองเห็นเป็นแบบเลือนลาง ทำให้การประสิทธิภาพของดวงตาพร่ามัว สูญเสียความคมชัดในช่วงของการโฟกัสชั่วขณะ โดยอาการตามัวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียว หรือทั้งสองข้างได้เช่นกัน   ตามัว ส่งผลสภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติได้ในระยะยาว หากไม่รีบรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจส่งผลให้การทำงานของดวงตาอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและนำไปสู่โรคทางสายตาต่าง ๆ ที่มีผลข้างเคียงก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ในอนาคต ผู้ป่วยท่านไหนมีอาการตามัวดังกล่าว ควรทำการนัดพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการบำรุงสายตาทันที

ตามัวเกิดจากสาเหตุใด
โดยทั่วไป สายตาพร่ามัวเกิดจากโรคแทรกซ้อนภายในร่างกาย และปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกิดภาวะตามัวขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ดวงตาของผู้ป่วยอีกด้วย จึงได้ทำการจำแนกประเภทสาเหตุสายตาพร่ามัวที่เห็นได้ชัดเป็น 3 ปัจจัยหลัก ที่นำไปสู่ความผิดปกติทางด้านสายตา ยกตัวอย่างเช่น

 1. ตามัวจากปัญหาค่าสายตา

สายตาสั้น (Myopia) - ภาวะสายตาสั้น เป็นสภาวะผิดปกติทางสายตาทั่วไปที่ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน หากจดจ้องมากเกินไปอาจส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อตรงส่วนดวงตาอ่อนหล้าและลามไปถึงส่วนของศีรษะ เกิดการมองเห็นภาพเบลอ และส่งผลให้สายตาพร่ามัวในที่สุด สายตามัวในภาวะสายตาสั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียวและทั้งสองข้างได้

สายตายาว (Hyperopia) - ภาวะสายตายาว ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุในระยะใกลไม่ชัดเจน แต่สามารถโฟกัสวัตถุในระยะไกลได้คมชัด ส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้ออ่อนหล้า และลามไปถึงการปวดศีรษะที่คล้ายคลึงกับภาวะสายตาสั้น

สายตาเอียง (Astigmatism) - ภาวะสายตาเอียง เกิดจากสภาวะของกระจกตามีรูปร่างที่ผิดปกติ จึงทำให้ตัวกระจกไม่สามารถรับรังสีแสงที่กระทบให้ถูกจุดโฟกัสนัยน์ตาได้ถูกจุด

สายตายาวตามวัย (Presbyopia) - ภาวะสายตาตามวัย เกิดขึ้นจากผู้สูงวัย ที่มีอาการสายตามัวในระยะการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ไม่คมชัด เนื่องจากเลนส์ภายในดวงตาแข็งตัวขึ้น จอตา และวุ้นในตาเสื่อม ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นอาการสายตายาวตามวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบไปตามธรรมชาติ

2. ตามัวจากโรคบางชนิด
โรคที่เกี่ยวกับทางดวงตา :

โรคต้อกระจก (Cataract) - ต้อกระจก เกิดจากภาวะสูงวัยที่สะสมพฤติกรรมจากการจดจ้องแสงสว่างอย่างแสงยูวี การติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือภาวะโปรตีนในตาได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสารเคมีในเลนส์ตาขุ่นมัว มีพังผืดเยื่อบุขาวบาง ๆ สะสมจนเป็นโรคต้อ ทำให้แสงเข้ามากระทบตรงส่วนเลนส์น้อยลง ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพไม่ชัด ตามัว เบลอ และอาจเกิดภาพซ้อนขณะการใช้สายตา

โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) - กิดจากการติดเชื้อของไวรัส แบคทีเรีย หรือสารเคมีและธรรมชาติที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ทำให้เมือกขาวในบริเวณเปลือกตาทำการหลั่งออกมา เพื่อทำการระบายสารก่ออักเสบภายดวงตาออกไป หรืออาจก่อให้เกิดตาแดง ตามัว ตาแฉะ ขี้ตาสีเหลือง และเยื่อบุในดวงตาอักเสบ

โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) - อาการตามัวสะสมเป็นระยะเวลานาน เกิดการเห็นภาพพร่ามับแบบฉับพลัน จุดโฟกัสไม่สามารถจดจ้องภาพตรงกลางในลานสายตาได้ กลอกตาแล้วเจ็บลูกเบ้าในดวงตา เป็นผลข้างเคียงที่ทำให้เส้นประสาทของตาส่งสัญญาณไปยังส่วนประสาททางสมองเสื่อมสภาพการทำงานลง โดยทั่วไปเส้นประสาทตาอักเสบเกิดขึ้นจากอาการตามัวข้างเดียว

โรคที่ไม่เกี่ยวกับตา :
โรคเบาหวาน (Diabetes) - ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ลามไปจนถึงบริเวณดวงตาได้ หรือเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา(Diabetic Retinopathy) โดยผลข้างเคียงนี้เกิดจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดมีความดันสูงจนมากกว่าระดับปกติ ส่งผลให้จอตา(Ratina)บวมและจุดภาพชัด(Macula) ในเส้นขาดเลือด เกิดอาการตามัว มองไม่เห็นช่วงคราว หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด

ไมเกรน (Migraine) - เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะหลอดเลือดแดงในส่วนของสมองคลายตัวอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะรุนแรง และลามไปถึงส่วนของบริเวณดวงตา โดยผลข้างเคียงของอาการที่เห็นได้ชัดคือ ตามัว มองเห็นแสงเป็นทอดและเห็นภาพเป็นระยิบระยับ

ไซนัส (Sinus) - ผลข้างเคียงของโรคภูมิแพ้ชนิดนี้อาจลามไปยังบริเวณดวงตา (Ethmoid sinus) ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อบุในดวงตาเกิดอาการระคายเคืองจนไปถึงขั้นอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตา ตามัว ตาแดง และกลอกลูกตาได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยอาการไซนัสไว้อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้

3. ตามัวจากปัจจัยอื่นๆ
ตาแห้ง - ระบบการทำงานภายในดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำในปริมาณที่มากพอไปหล่อเลี้ยงดวงตาให้เกิดความชุ่มชื้นได้ หรือเกิดจากภาวะพฤติกรรมของผู้ป่วยที่โฟกัสการใช้ดวงตามากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์มากตามัวเป็นชั่วครู่

การตั้งครรภ์ - ในระยะคุณแม่อยู่ในภาวะการตั้งครรภ์ มีผลข้างเคียงทำให้แหล่งสะสมน้ำในร่างกายมีมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการตามัว ตาบวมบริเวณรอบ ๆ บนดวงตา

ผลจากการทำเลสิค - การทำเลสิคทุกประเภทอย่าง การทำเลสิคไร้ใบมีด (Femto LASIK) มีผลข้างเคียงจากการใช้เลเซอร์เช่นกัน ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบการมองเห็นเป็นภาพเบลอ ตามัว หรือมีอาการเจ็บปวดในบริเวณที่ผ่าตัด

การสวมใส่คอนเทคเลนส์ - การสวมใส่คอนเทคเลนส์ในระยะเวลานาน ทำให้โปรตีนในดวงตาเกิดการสะสมของตัวคอนเทคเลนส์มากขึ้น การไหลเวียนของน้ำตาที่หล่อเลี้ยงกระจกตานั้นน้อยลง เกิดอาการระคายเคือง ตามัว ตาแดง และอาจเกิดการติดเชื้อเข้าผ่านการเข้าดวงตาโดยตรง

ลักษณะของอาการของตามัว
อาการตามัวโดยทั่วไป มีดังนี้ 

  1. กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองผ่านดวงตาอ่อนหล้า ตามัวมองไกลไม่ชัด และดวงตาไม่สามารถปรับรูม่านตาในการมองเห็นในยามกลางคืนได้ไม่เต็มที่
  2. ปวดบริเวณศีรษะ ใบหน้าบิดเบี้ยว ทำให้การควบคุมดวงตาเบลอ ไม่โฟกัสกับสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นรอบ ๆ ได้ชัดเจน
  3. การทำงานของรูม่านตาหดลง เมื่อสบตากับแสงกลางวัน หรือแสงสว่างจากสิ่งของอย่าง ดวงไฟ ทำให้ดวงตาเกิดภาวะไม่สู้แสงแบบฉับพลัน สายตามัว มองไม่ชัด รู้สึกไม่สบายตา จึงทำให้ผู้ป่วยต้องหรี่ตาลง ตาแฉะ และมีน้ำบนบริเวณดวงตาในปริมาณมากกว่าผิดปกติ
  4. เส้นเลือดฝอยสีแดงขึ้นบริเวณนัยน์ตาขาว ทำให้ดวงตาของผู้ป่วยเกิดอาการระคายเคือง มีขี้ตา ตาแห้ง และนำไปสู่ภาวะอาการสายตาพล่ามัวได้
  5. เห็นเงาจุดดำลอยรอบ ๆ บนกรอบจอตาข้างใดข้างหนึ่ง เกิดจากวุ้นในตาเสื่อมสภาพ นำเป็นเหตุเข้าไปสู่สายตามัวข้างเดียว
อาการตามัวที่ควรพบแพทย์
อาการตามัวที่สามารถสังเกตได้ชัดคือ ปวดศีรษะขณะใช้สายตาในการโฟกัสจุด ๆ หนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้ภาวะเลนส์ตาของผู้ป่วยเกิดภาวะตามัวเหมือนมีหมอกขาวชั้นบางขุ่นบดบัง ส่งผลกระทบการทำงานของดวงตาไม่สามารถโฟกัสกับภาพที่มองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือบริเวณนัยน์ตาขาวเริ่มเป็นสีแดงก่ำและผู้ป่วยใช้ดวงตาในการจดจ้องในช่วงที่มีอาการตามัวอยู่นั้น อาจส่งผลเส้นประสาทลามไปถึงส่วนการทำงานภายศีรษะได้  
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงที่เข้าเขตอาการตามัวขั้นต้นที่กล่าวมานั้น ควรทำการนัดพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยอาการตามัวไว้นั้น อาจส่งผลทำให้อาการพร่ามัวสะสม นำไปสู่โรคร้ายแรงอย่าง โรคต้อกระจกได้  
วิธีรักษาอาการสายตามัว

วิธีการรักษาอาการสายตามัวทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ยกตัวอย่างเช่น

1. ยาแก้สายตาพร่ามัว
การทานอาหารเสริมสำหรับบำรุงสายตามัว เป็นการทดแทนและเติมเต็มส่วนที่สึกหรอในระบบร่างกายที่มีไม่สามารถผลิตสารบำรุงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนผสมหลัก ๆ จากลูทีน ซีแซนทีน   เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารในการบำรุงตาอย่างเต็มที่ 
วิตามินบำรุงสายตาแก้ตาพร่ามัว


2. บริหารกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา
การบริหารส่วนของกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาและลูกตา จะช่วยบรรเทาอาการตามัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยับตรงส่วนดวงตาทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็งกับการโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป เป็นการออกกำลังกายบนดวงตาให้มีความหยืดหยุ่น สามารถทำได้ทุกวันของก่อนนอนและตื่นนอนตอนเช้าเป็นกิจวัตรประจำวัน

3. น้ำตาเทียม (Artificial Tears)
น้ำตาเทียม คือ น้ำหล่อลื่นที่มีสรรพคุณในการเติมเต็มความชุ่มชื่นให้กับสภาพดวงตาแห้ง และผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากการผ่าตัดต้อกระจก หรือการทำเลสิคประเภท ReLEX SMILE, Femto LASIK และ PRK ในการรักษาค่าสายตากลับมามีการมองเห็นปกติ

ผู้ป่วยมีเกณฑ์ที่เข้าข่ายอาการตามัวนั้น สามารถชะลออาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันที่ถนอมสายตาได้ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากในกรณีที่อยู่ในภาวะตามัวสะสม ไม่สามารถแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเอง และติดต่อสอบถามอาการเกี่ยวกับนัยน์ตาต่าง ๆ หรือนัดเวลากับจักษุแพทย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้