ลำไส้ติดยาระบาย ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ

Last updated: 21 ต.ค. 2566  |  291 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลำไส้ติดยาระบาย ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ

" ลำไส้ติดยาระบาย " ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ

    ท้องผูก-ถ่ายไม่ออก หนึ่งในปัญหาน่ารำคาญที่กวนใจใครหลาย ๆ คน เพราะไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นท้องอืดท้องเฟ้อ, อาหารไม่ย่อย, มีกลิ่นปาก, ริดสีดวงทวาร, ลำไส้ระคายเคือง, ลำไส้อักเสบ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้


ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเลือกที่จะใช้ “ยาระบาย” เป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากใช้เป็นครั้งคราวก็ยังพอได้ แต่หากใช้ติดต่อกันต่อเนื่องยาวนาน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้อาการท้องผูกหนักขึ้น แต่ยังพัฒนาไปเป็น “ลำไส้ติดยาระบาย” ได้เลยทีเดียว


เนื่องจากยาระบายนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ในลำไส้โดยตรง โดย “คล้ายกับการฝืนบังคับลำไส้” ให้ทำงานแบบผิดธรรมชาติ เกิดการบีบตัวจากสารกระตุ้นที่รับจากภายนอกร่างกาย ทำให้ถ่ายได้ทันที

เมื่อกินยาระบายติดต่อกันเป็นประจำ จะส่งผลให้ลำไส้ติดสารกระตุ้น ลำไส้จะจดจำตัวเองให้ทำงานเฉพาะเวลาที่ได้รับสารกระตุ้นเท่านั้น หากไม่ทานก็ไม่ถ่าย แต่ถ้าทานต่อเนื่องก็ดื้อสารกระตุ้น ต้องทานมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นลำไส้ติดยาระบาย หรือลำไส้ขี้เกียจในที่สุด ทีนี้ล่ะก็เรื่องใหญ่เลย เพราะลำไส้จะไม่ทำงานตามธรรมชาติอีกต่อไป กลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังโดยสมบูรณ์ และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น 

  • ระดับเกลือแร่เสียสมดุล 
  • ภาวะขาดน้ำรุนแรง
  • ลำไส้ทำงานผิดปกติ
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การแก้ปัญหาท้องผูกด้วยการใช้ยาระบาย จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ มากสุดไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็ถือว่านานแล้ว และควรหันมาดูแลตัวเองด้วยการเลือกกินอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อเพิ่มมวลอุจจาระ, รับประทานน้ำให้เพียงพอเพื่อให้อุจจาระนิ่มลง

และสำคัญที่สุด รับประทานไฟเบอร์ให้เพียงพอเพื่อเพิ่มกากใยอาหารในลำไส้ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นอกจากจะช่วยฟื้นฟูแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีผลข้างเคียงที่อันตราย ยังช่วยดูแลสุขภาพองค์รวมด้วย ส่งผลดีต่อสมดุลของลำไส้ในระยะยาว ทำให้ไม่ต้องพึ่งยาระบายในอนาคต

ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ เป็นไฟเบอร์ชนิดที่ละลายในน้ำได้ดี (soluble dietary fiber) เมื่อเข้าไปในร่างกายเราก็จะเกิดการพองตัวและปรับสภาพเป็นเจลหนืด จึงช่วยในการดูดน้ำไว้ในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ขยาย ส่งผลในการช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและเกิดการขับถ่าย​

พูดง่าย ๆ เลยก็คือ การทาน  ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ ก็คล้ายกับการที่เราทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อเข้าไปช่วยระบบการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เกิดภาวะสมดุล และขับถ่ายได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ​

❤️ 3 เหตุผลว่าทำไม ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ ถึงเป็นตัวช่วยแก้ท้องผูกที่ปลอดภัย​

✅ ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ เป็นไฟเบอร์ธรรมชาติ​
อันที่จริงแล้ว ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-forming laxatives) ก็มีหลากหลายรูปแบบนะคะ มีทั้งการเติมไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำ (insoluble dietary fiber) ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ดี ไฟเบอร์แบบกึ่งสังเคราะห์ ​ ทั้งนี้

ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ เป็นไฟเบอร์ธรรมชาติ (ชนิดละลายน้ำได้ดี) ผลิตจากพืชคือ ไซเลียม ฮัสก์ ,ฟรุตโต-โอลิโกแซคคาไรด์  ซึ่งแน่นอนว่าดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่าใช้ไฟเบอร์กึ่งสังเคราะห์​

✅ ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ หยุดรับประทานก็ยังขับถ่ายได้เองตามปกติ​

ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ พองตัวได้ถึง 70 เท่าของน้ำหนักตัวเอง จึงช่วยเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ และมีผลทำให้สำไส้ใหญ่บีบตัวตามกลไกธรรมชาติ ไม่มีฤทธิ์ในการเร่งหรือบีบลำไส้ใหญ่โดยตรงจึงไม่ทำให้โครงสร้างการทำงานของระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง หรือสูญเสียความสามารถในการขับถ่ายได้เองตามธรรมชาติไป​

การใช้ไอเบอร์รี่ ไฟเบอร์ สามารถใช้ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อสร้างสมดุลที่ปกติของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น เมื่ออาการท้องผูกดีขึ้น สามารถค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ยาระบายลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายค่ะ​

ไฟเบอร์กับยาระบาย ต่างกันอย่างไร ควรกินยังไงให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย!
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้