Last updated: 20 ส.ค. 2566 | 272 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะลำไส้แปรปรวนกับการก่อภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ ถ้าใครไม่เคยเป็นจะไม่มีทางรู้เลยว่าเป็นโรคที่ไม่ได้หนักหนาสาหัสถึงกับชีวิตเหมือนโรคเรื้อรังอื่นๆ แต่มันทรมานไม่สบายตัวเอาซะเลย เพราะบางครั้งมันก็ทำให้เราคันมีผื่นแดงขึ้นตามตัว บางครั้งก็มีน้ำมูกไหล คัดจมูก ไอจามได้ทุกเช้าไม่เคยเว้นวันหยุดราชการ บางครั้งก็ตาแดง แสบเคืองตาอยู่เป็นอาทิตย์ ใช้ยาแก้แพ้ไม่ว่าจะกิน ทา หรือหยอดตา ก็ได้แค่ลดอาการระคายเคืองไปบ้าง แต่ไม่หายขาดสักที นี่คือสิ่งที่ผมเองได้ฟังประจำจากคนไข้โรคภูมิแพ้เรื้อรัง
ซึ่งสำหรับสาเหตุของการก่อภูมิแพ้นั้น เชื่อว่าเกิดจากเม็ดเลือดขาว ในเลือดของร่างกายเราทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ต่างๆที่เรียกว่า allergen แล้วมีการสร้างสารต่อต้าน หรือสารก่อการอักเสบขึ้นจนทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่างๆ
ปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก็พยายามจะตรวจสอบสารก่อภูมิแพ้ในร่างกายผู้ป่วย ซึ่ง หนึ่งในนั้นที่เป็นที่นิยมคือ การตรวจสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง หรือ skin prick test โดยจะมีการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่สกัดจากแหล่งต่างๆ เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น แมลงสาบ แล้วดูว่าเกิดปฏิกิริยาบวมแดงที่ผิวหนังขึ้นที่จุดใดก็จะบอกว่าเรามีภูมิแพ้ต่อสิ่งนั้น
แต่ในความเป็นจริงพบว่าคนไข้หลายๆ ท่านได้รับการตรวจเช่นนี้และลองพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ได้ตรวจมาแล้ว ก็พบว่าตนเองก็ยังไม่ดีขึ้นหรือยังมีอาการภูมิแพ้ที่ต้องใช้ยาแก้แพ้ต่างๆ ตลอด มาปรึกษาเป็นประจำ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น??
คำตอบคือ การตรวจ skin prick test ที่กล่าวไปแล้วนั้น เป็นการตรวจปฏิกริยาภูมิแพ้ ที่ผ่านกลไกของ IgE (immunoglobulin E) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของเม็ดเลือดขาวที่แสดงผลแพ้แบบเฉียบพลัน แต่ในร่างกายเราเองนั้น ยังมีปฏิกิริยาอีกรูปแบบหนึ่งที่ซ่อนอยู่และเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแบบช้าๆ หลังร่างกายรับสารก่อภูมิแพ้อย่างน้อย 1-2 วัน ที่เรียกว่า delay type hypersensitivity ครับซึ่งจะเป็นกลไกผ่าน IgG (immunoglobulin G) ซึ่งส่วนใหญ่สารก่อภูมิแพ้กลุ่มนี้ มักเกิดจากอาหาร
ในทางเดินอาหารของมนุษย์นั้น จากช่องปาก จนถึง รูทวาร มีความยาวมาก ประมาณ 10-12 ฟุตทีเดียว โดยเฉพาะในลำไส้เล็กที่มีการขดตัวไปมาร่วมกับการมีปุ่มเล็กๆ ในเยื่อบุลำใส้ด้านในมากมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการย่อยการดูดซึมอาหาร ซึ่งกล่าวกันว่าถ้ามาตีแผ่เป็นแผ่นบางๆ จะมีความกว้าง พอๆ กับครึ่งสนามฟุตบอลทีเดียว และในทุกๆ ตารางมิลลิเมตรของพื้นที่ดังกล่าวนั้น ใต้เยื่อบุผิวก็มีการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดขาว หรือ lymphoid follicle ค่อนข้างมาก จึงกล่าวได้ว่าในลำไส้ของเราแล้วมีโอกาสสัมผัสกับสารแปลกปลอมที่มาจากอาหาร และเกิดปฏิกิริยาก่อภูมิแพ้เป็นอันดับต้นๆของร่างกายเลยก็ได้ทีเดียว
ดังนั้นถ้ามีสาเหตุใดๆ ก็ตามที่มีผลทำให้เซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้เล็กเกิดการระคายเคืองเรื้อรังได้ ก็จะทำให้สารอาหารหรือ เปปไทด์โมเกุลใหญ่ๆ ที่ย่อยไม่สมบูรณ์ เกิดหลุดลอดเข้าไปทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดขาวจนเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ดังกล่าวได้ ซึ่งเราเรียกภาวะที่เกิดแบบนี้ว่าภาวะลำไส้รั่วซึมหรือ leaky gut syndrome
สาเหตุดังกล่าวนั้นได้แก่
แต่อาการในระบบอื่นๆ ก็เกิดจากที่กล่าวไปคือสารโมเลกุลใหญ่ที่อาจหลุดลอดเยื่อบุลำไส้ไปทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดขาว เกิดเป็นสารก่ออักเสบเชิงซ้อน immune complex ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารอักเสบขึ้น จนไปมีผลที่ระบบต่างๆได้เช่น
ดังนั้นเราอาจใช้ยาแก้แพ้ แก้ปวดต่างๆก็อาจระงับอาการดังกล่าวได้เพียงชั่วครั้ง ชั่วคราวแต่ถ้าต้นเหตุยังมีอยู่เมื่อเราหยุดยา อาการภูมิแพ้ก็กลับมาอีกได้
แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อเป็นการดูแลรักษาที่ต้นเหตุ
10 ก.ย. 2567
15 ก.ย. 2567
15 ก.ย. 2567