“มะเร็งลำไส้ใหญ่” โรคที่พุ่งขึ้นมาติดอันดับต้นๆ และทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด โดยจากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพศชาย 10 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน และเพศหญิง 7 คนต่อ 100,000 คน แต่รู้ไหมว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้หากเรารู้สัญญาณ การสังเกตอาการ และวิธีป้องกันตัวเอง เพราะสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว พฤติกรรมการทานอาหารของคนไทย
สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ยังหาสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่มีปัจจัยความเสี่ยงของโรคนี้ ได้แก่
- กรรมพันธุ์ จากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ จนกลายเป็นเนื้อร้าย และถ่ายทอดสู่รุ่นต่อไป
- ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- โรคหรือภาวะที่ทำให้ลำไส้เกิดการอักเสบ เช่น ลำไส้อักเสบ
- รวมทั้งการเกิดเนื้องอกในบริเวณนั้น
- การรับประทานอาหารไขมันสูง กากใย และไฟเบอร์ต่ำ เนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง ผัก ผลไม้ที่ไม่สะอาด
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ผู้ป่วยโรคอ้วน เบาหวาน มะเร็งเต้านม และเนื้อร้ายที่เกิดในทางนรีเวช
- ผู้ที่ได้รับการรักษามะเร็งด้วยวิธีฉายแสงในช่องท้อง
ที่สำคัญ มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นโรคที่จะส่งสัญญาณเตือนออกมาเป็นอาการที่เราเห็นได้ชัดในชีวิตประจำวัน หากคอยหมั่นสังเกตตัวเองสักนิด ก็จะรู้ทันและสามารถป้องกันและหยุดยั้งแต่เนิ่นๆ ได้ และนี่คือ 6 สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ท้องผูกบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ
บางคนมีปัญหาเรื่องท้องผูกมาตั้งแต่เด็กๆ อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการกินที่ไม่กินผักผลไม้ ร่างกายไม่ได้รับไฟเบอร์เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานไม่ดี แต่ในบางคนอาจมีอาการท้องผูกเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยทำงาน และปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังจนมองว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต พฤติกรรมนี้ล่ะคือสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต - อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก
เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเริ่มจากการมีติ่งเนื้อขึ้นมาในลำไส้ ซึ่งอาจเป็นติ่งเนื้อธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย แล้วจึงพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในภายหลัง การมีติ่งเนื้อขึ้นขวางภายในลำไส้นี้จึงทำให้อุจจาระที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่มีลักษณะถูกบีบให้เป็นลำเล็กลีบ ดังนั้นหากสังเกตได้ว่าอุจจาระมีลักษณะเล็กลีบเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อขึ้นในลำไส้ - มีเลือดสดหรือเลือดสีแดงเข้มมากปนมากับอุจจาระ
อาจเกิดจากอุจจาระที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อที่ขึ้นผิดปกติภายในลำไส้เกิดเป็นแผลทำให้มีเลือดออกและปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย - มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
การอุจจาระแข็งและเหลวสลับกัน เป็นติดต่อกันแบบมีอาการเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่เหมาะสมไม่ได้เป็นสาเหตุให้ท้องเสียก็ยังมีอาการนี้อยู่ นี่อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภายในลำไส้ - กินอาหารเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดฮวบฮาบ
ลักษณะอาการคือน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมหรือมากกว่าเดิม - อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ
อาจเกิดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้ ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือดจากการขับถ่ายมากอาจมีภาวะซีด และโลหิตจางร่วมด้วย และยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรงต่อเนื่องมากขึ้นอีก ถึงแม้โรคมะเร็งลำไส้ จะเป็นมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับสามในปัจจุบันนี้ แต่หากเราระวังในพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต และหมั่นสังเกตตัวเองได้ทันการ จะได้รีบทำการรักษาได้ทันท่วงที โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งสูงขึ้น
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนวัยทำงาน ดังนั้น เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคนี้ได้โดยการปรับพฤติกรรมของตนเอง
- งดอาหารไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรอั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรขับถ่ายทันที
- รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ และทานผัก ผลไม้ที่มีไฟเบอร์
หรือหาตัวช่วยสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ ไม่มีเวลาเลือกรับประทานอาหาร ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และยังต้องทานอาหารปิ้งย่าง ไอ-เบอร์รี่ ( I-Berry ) ไฟเบอร์ดีท็อกซ์ ตัวช่วยของคนรักสุขภาพช่วยเสริมสร้างร่างกายและการเสริมสร้างร่างกายรวมไปถึงการซ่อมแซมร่างกายเรา เมื่อร่างกายสะอาด ระบบทางเดินอาหารสะอาดแล้ว ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นไม่ท้องผูกแล้ว ยังช่วยทำให้ระบบการดูดซึมสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เข้าสู่ร่างกายเราให้ได้นำไปใช้ในการบำรุงและดูแลสุขภาพ รวมไปถึงซ่อมแซมร่างกายหรือส่วนที่สึกหรอได้ง่าย ลดปัญหาการป่วยเรื้อรังและต้องทานยาในระยะเวลายาวนานแล้วไม่ค่อยเห็นผลที่ดี เพราะร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้นั่นเอง