Last updated: 20 ส.ค. 2564 | 1294 จำนวนผู้เข้าชม |
ของหวาน ของชอบของหลายๆคน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราทานของหวานเข้าไปจะทำให้เรารู้สึกคลายเครียด มีความสุข
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราอยากกินอะไรหวานๆแล้วถึงรู้สึกหงุดหงิด ซึ่งในของหวานหรือน้ำตาลที่เรากินเข้าไปนั้นมีอะไรแฝงอยู่ ทำไมเราถึงเสพติดความหวาน
จากหนังสือ Low Carb Energy ฉบับเดือน มีนาคม 2005 หน้า 86 ชื่อเรื่อง "SUGAR A Serious addiction you can break" รายงานนี้เขียนโดยแพทย์หญิง Christine Horner ได้บรรยายเอาไว้ว่า คนอเมริกันกินน้ำตาลเฉลี่ย 60 กิโลกรัม/คน/ปี และตัวเลขที่น่ากลัว คือ โดยเฉลี่ย เด็กกินเป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่ และในหนังสือเล่มนี้ก็เขียนไว้ทำนองเดียวกับ
หนังสือ LICK THE SUGAR HABIT ก็คือ ความหวานเพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายหลายชนิด เช่น ลำไส้ใหญ่เป็นแผลอักเสบเรื้อรัง หอบหืด ข้ออักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ไมเกรน ซึมเศร้า โรคเหงือก ฟันผุ เบาหวาน อ้วน กระดูกผุ โรคหัวใจ และหลอดเลือด ฯลฯ
ในหนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องการเสพติดไว้ดังนี้ ความหวานกระตุ้นสมองที่ตำแหน่งเดียวกับ มอร์ฟีน เฮโรอีน และ โคเคน และยังอ้างถึงวารสาร NEURO IMAGE ฉบับเดือนเมษายน 2004 ที่รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย เสตท ว่า เวลาเราอยากกินหวานๆ สมองจะมีปฏิกิริยาเหมือนเราอยากเสพมอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคน และเวลาเราได้กินหวานๆ สมองจะมีปฏิกิริยาเหมือนเรา ได้เสพมอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคน
ทั้งนี้มีการทดลองในหนู โดยให้หนูกินอาหารและน้ำหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหนูกินน้ำหวานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกินอาหารลดลง และเมื่อหยุดน้ำหวาน หนูจะเกิดอาการลงแดงทันที คือ ปากสั่น ตัวสั่น และเมื่อให้กินน้ำหวานอาการเหล่านี้ก็จะหายไป
คราวนี้แบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้น้ำหวาน กลุ่มที่สองให้มอร์ฟีน โดยเริ่มจากกลุ่มแรกให้หนูกินน้ำหวาน พอหยุดน้ำหวานหนูจะเกิดอาการลงแดงทันที คือ ปากสั่น ตัวสั่นอีก แต่คราวนี้ให้ยาชื่อ naloxone พบว่า หนูหายจากอาการปากสั่น ตัวสั่น (ยา naloxone เป็นยาที่ใช้ช่วยในการเลิกยาเสพติดพวกมอร์ฟีนและเฮโรอีน)
หลังจากนั้นเริ่มให้มอร์ฟีนหนูอีกกลุ่มหนึ่ง จนหนูติดมอร์ฟีนแล้วหยุดให้มอร์ฟีน หนูเกิดอาการลงแดงทันที ปากสั่น ตัวสั่น เค้าก็ให้ยา naloxone หนูก็หายลงแดงทันที ซึ่งเป็นลักษณะแบบเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า จากงานวิจัย บทความหรือการทดลองต่างๆเกี่ยวกับเรื่องของความหวานนั้น ไม่มีผลดีต่อร่างกายแต่อย่างใด ซึ่งมีแต่ผลเสียทั้งนั้นต่อร่างกาย ดังนั้นใครที่กำลังเสพติดความหวานอยู่ ให้ท่านค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของหวานของท่าน โดยค่อยๆลดปริมาณของหวานในแต่ละวันลง จนกว่าตัวท่านจะรู้สึกว่าหากท่านไม่ได้กินของหวานแล้วท่านก็อยู่ได้
วันนี้เราควรหันมาดูแลสุขภาพของตัวท่านเองโดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่จะสายเกินแก้กันนะคะ
28 ธ.ค. 2567
14 ธ.ค. 2567
15 ธ.ค. 2567