ประโยชน์ของไคโตซาน

Last updated: 15 พ.ค. 2564  |  27315 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟาร์มโอเค นาโนเทค

ประโยชน์ของไคโตซาน
 
ไคติน – ไคโตซาน คืออะไร
ไคติน   เป็นโครงสร้างแข็ง ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจากพวก แมลงกุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ส่วนไคโตซาน เป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือก นอกของสัตว์พวกกุ้ง, ปู,  แมลง, และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่น เฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติมีความปลอดภัยในการ นำมาใช้บำบัดมนุษย์  ไม่เกิดผลเสียและปลอดภยัต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ไม่ ไวไฟ   เมื่อไคโตซานเกิดการสลายตัวจะเป็ นการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้แ ก่ ดิน นอกจากนี้ ไคโตซานยังสามารถยึด ธาตุโปรตัสเซียม  , แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็ก, ฟอสเฟต ที่เป็นประโยชน์ ต่อพื ชแล้ว ค่อย ๆ ปลดปล่อยสารเหล่านี้แก่พืช ทั้งนี้เพราะไคโตซาน เป็นสารชีวภาพ ฉะนั้นจึงช่วยลดการชะล้างและช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ไคติน (chitin) ถูกพบครั้งแรกเมื่อไหร่
เมื่อปี ค.ศ. 1811 โดย Henri Bracannot ด้วยการแยกได้จากเห็ด และในปี ค.ศ. 1823 มีการตั้งชื่อสารที่เป็นพอลิเมอร์ชนิดนี้ว่า ไคติน โดย Odier ที่มาจากคำว่า Chiton ในภาษากรีก แปลว่า เกาะหุ้ม ส่วนไคโตซาน ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1859 โดย Rouget ด้วยการต้มสารไคตินกับโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ซึ่งเมื่อละลายในไอโอดีน และกรดจะให้สารสีม่วง และตั้งชื่อว่า Modified chitin ต่อมา Hoppe Seyler ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า   ไคโตซาน (chitosan)
ประโยชน์ไคโตซาน และไคติน
ในปัจจุบันนิยมนำไคโตซาน และไคตินทั้งสองรูปมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ แต่ส่วนมากจะใช้ประโยชน์ในรูปของไคโตซานมากกว่า เช่น

ใช้ในทางการแพทย์
 ไคโตซานเป็นสารที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้หลายรูปแบบ สามารถเตรียมได้ในรูปแบบเม็ดเจล ,แผ่นฟิล์มฟองน้ำ, เพลเลท, แคปซูล และยาเม็ด เป็นต้น
 ไคโตซาน และอนุพันธ์ใช้ป้องกันฟันผุ เช่น เอซิลีนไกลคอน-ไคติน, คาบอกซีเมทิล-ไคติน, ซัลเฟตเตด ไคโตซาน และฟอสฟอไลเลตเต็ด ไคติน สามารรถยับยั้งการจับ และก่อตัวของแบคทีเรียบนผิวฟันที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ดี
 ไคตินหรือไคโตซานซัลเฟตสามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือด และปลดปล่อย lipoprotein lipase โดยนำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการฟอกเลือดเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังใช้สำหรับรักษาแผล และป้องกันการติดเชื้อของแผลได้ดี

 ใช้ทางการเกษตร
ด้านการเกษตรนิยมใช้ไคติน ไคโตซานในหลายด้านด้วยกัน อาทิ
 การใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์พืช ป้องกันโรค แมลง การเน่าเสียจากจุลินทรีย์และยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
 ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการเกิดราก
 ใช้สำหรับปรุบปรุงดินเพิ่มธาตุอาหารในดินปรับปรุงดินเค็มปรับปรุงดินที่เป็นกรดเป็นด่าง

ใช้ทางยา
ไคโตซานที่ใช้เป็นส่วนผสมในยาชนิดต่างๆ จะใช้ทำหน้าที่ป้องกันการย่อยสลายของยาบริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสารควบคุมการปล่อยยาหรือเป็นตัวนำส่งยาเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต

ใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร
 ใช้เป็นอาหารเสริมที่สามารถให้พลังงาน และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด LDL รวมถึงไขมันจำพวกไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดีด้วยการจับตัวกับกลุ่มไขมันทำให้ลดการดูดซึมบริเวณลำไส้จึงนิยมนำไคโตซานผลิตเป็นอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนัก
 ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร ด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถจับกับเซลล์เมมเบรน ของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดการรั่วไหลของโปรตีน และสารอื่นๆออกมานอกเซลล์จนจุลินทรีย์ไม่สามารถเติบโต และลดจำนวนลง
 แผ่นฟิล์มบรรจุอาหารด้วยการใช้แผ่นฟิมล์พลาสติกชนิดโพลิเอธิลีนมีข้อเสียทำให้อาหารเน่าเสียเร็ว  เนื่องจากกักเก็บความชื้นไว้ภายใน แต่แผ่นฟิมล์จากไคโตซานสามารถยืดอายุอาหารได้ดีกว่าเนื่องจากสามารถถ่ายเทความชื้นจากอาหารสู่ภายนอกได้ดีกว่า
 สารเติมแต่งในน้ำผลไม้ด้วยการเติมสารไคโตซานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็น fining agent และควบคุมสภาพความเป็นกรดของน้ำผลไม้ได้ดี

ใช้กับเครื่องสำอาง
ด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถอุ้มน้ำได้ดี และการเป็นฟิมล์บางๆคลุมผิวหนังป้องกันการเสียความชุ่มชื้นของผิว รวมถึงฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น แป้งทาหน้า แป้งผัดหน้า สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ยาย้อมผม ยาเคลือบผม เป็นต้น

ใช้ทางด้านสิ่งแวดล้อม
ด้วยคุณสมบัติของไคติน และไคโตซานที่สามารถดูดซับ และจับกับสารอินทรีย์จำพวกไขมัน สี รวมถึงสารจำพวกโลหะหนักได้ดีจึงนิยมนำมาประยุกต์ใช้สำหรับเป็นสารกรองหรือตัวดูดซับสารมลพิษในระบบบำบัดน้ำเสีย
 
กระบวนการผลิตไคติน 
 การกำจัดโปรตีน (Deproteinization) เป็นขั้นตอนกำจัดโปรตีนออกจากเปลือกกุ้ง ปู ด้วยการทำปฏิกิริยากับด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 3-5% อุณหภูมิในช่วง 80-90 องศาเซลเซียส 2-3 ชั่วโมง ซึ่งสารโปรตีนจะถูกำจัดออกพร้อมกับไขมัน และสีบางส่วน หลังการกำจัดจะเข้าสู่การล้างน้ำให้สะอาดก่อนส่งเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

 การกำจัดเกลือแร่ (Demineralization) เป็นขั้นตอนการกำจัดอนินทรีย์สารจำพวกแร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในเปลือกกุ้ง ปู ด้วยการทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (HCl) ความเข้มข้น 3-5% ที่อุณหภูมิห้อง นาน 24 ชั่วโมง แร่ธาตุจะถูกกำจัดออกในรูปของอนินทรีย์สารที่ละลายน้ำได้ เช่น แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) และกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ระเหยออกไป รวมไปถึงโปรตีน และสีบางส่วนที่ลงเหลือจากขั้นตอนการกำจัดโปรตีน หลังการกำจัดจะเข้าสู่การล้างน้ำให้สะอาดก่อนส่งเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

 การกำจัดสี (Decoloration) เป็นขั้นตอนการกำจัดรงควัตถุหรือสีออกให้หมดขั้นตอนนี้อาจทำก่อนกระบวนการผลิตไคโตซานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ไคติน และนำไคตินมาผลิตไคโตซานหรือทำหลังขั้นตอนการผลิตไคโตซานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ไคโตซาน การฟอกสีจะจะใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) หรือโซเดียมเปอร์คลอเรต (NaOCl4) เหมือนๆกับกระบวนการฟอกสีในสิ่งทอ แต่สารเหล่านี้มีผลทำให้สายโซ่โมเลกุลของไคโตซานแตกสั้นลงจึงนิยมทำในขั้นตอนต้นของกระบวนการผลิต หลังการกำจัดจะเข้าสู่การล้างน้ำให้สะอาดก่อนส่งเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

กระบวนการผลิตไคโตซาน
การผลิตไคโตซานจะมีขั้นตอนเหมือนกับการผลิตไคติน จนได้สารไคติน บริสุทธิ์ หลังจากนั้นจะใช้สารไคตินเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซาน การกำจัดหมู่อะซิติลของไคติน (Demineralization)
การกำจัดหมู่อะซิติลสามารถด้วยปฏิกิริยไฮโดรไลซิสด้วยกรด แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากประสิทธิภาพการกำจัดยังด้อยกว่าการกำจัดด้วยด่าง ซึ่งนิยมใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ในการทำปฏิกิริยา หลังจากนั้นจะล้างด้วยน้ำให้สะอาด และอบให้แห้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะดูที่ความมากน้อยของหมู่อะซิติลที่เหลืออยู่

ปัจจุบันการใช้นำไคโตซานมาใช้ได้แพร่หลายทั่วโลกทางด้านการเกษตรกรรม ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ไคโตซานเพื่อที่จะลดปัญหาสารเคมีตกค้างเป็นระยะเวลา 30 ปี บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ จำกัด ดำเนินธุรกิจด้วยเป้าหมายหลักที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งกลุ่มผู้เกษตรกร  และนักธุรกิจทั่วประเทศ  ด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเราจึงได้นำผลิตภัณฑ์ไคโตซานนาโนเทคเข้ามา เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ที่สามารถใช้ได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงคำนึงถึงประสิทธิภาพอันสูงสุด เราได้ให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้ไคโตซานคุณภาพสูงและกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐานตั้งแต่ต้นทางจากประเทศญี่ปุ่น และนำมาผ่านการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน 
                                                                                                                   
อาหารเสริมพืชและสัตว์ไคโตซาน
ฟาร์ม OK nanotech 
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด เพิ่มผลผลิตและยั้บยั้งโรคเชื้อราสารไบโอโพลิเมอร์ชีวภาพสกัดจากธรรมชาติ 100% เหมาะสำหรับ พืชผัก พืชสวน พืชไร่ นาข้าว ไม้ผล ไม้ดอก และไม้ประดับ  ซึ่งไคโตซานได้รับการรับรองถึงคุณภาพและความปลอดภัยจากหลายๆสาขา รวมถึง เกษตรกรรมอุตสาหกรรม การแพทย์  และอาหาร ไคโตซานมีประสิทธิภาพด้านเกษตรกรรมในการเพิ่มปริมาณแบคทีเรียในดินและทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยได้ดัดแปลง Deacetylation และอนุโมเลกุลของไคโตซาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไคโตซาน ให้ดียิ่งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น การใช้ไคโตซานในการเกษตรช่วยลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยให้เหลือครึ่งเดียว มากกว่านั้นผลผลิตเพิ่มเป็น 1.5 เท่าของปกติ
 
ฟาร์มโอเค นาโนเทค 
 นวัตกรรมไคโตซานจากประเทศญี่ปุ่น
 ไคโตซานไม่ผสมสารเคมี
 ไคโตซานเป็นสายพันธุ์สั้น
 ไคโตซานมีความเข้มข้นกว่าเท่าตัว
 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย
 ลดการใช้ยาฆ่าศัตรูพืช
 ช่วยเพิ่มผลผลิตมากถึง 25-30%
 ลดต้นทุนได้ถึง 50%
 ใช้ได้กับพืชและสัตว์ทุกประเภท ทุกสภาพดิน
 
วิธีใช้ฟาร์โอเค นาโนเทค
 สำหรับนาข้าว
1. ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอนผสมน้ำ 1,000 ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร)ฉีดลงดินในนาข้าวก่อนเพาะปลูก
2. ฉีดครั้งที่สองหลังเพาะข้าว ด้ายสารละลายไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000  ลิตร
3. ฉีดครั้งที่สามก่อนออกดอก ฉีดที่ใบ ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 40 ลิตร )
4. ฉีดครั้งที่สี่เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร 
5. ฉีดในช่วงเริ่มขัดใบ หรือ ข้างแทงหางปลาทู จะทำให้ออกรวงอย่างสมบูรณ์และเมล็ดเต่ง ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร 
**หมายเหตุ **: ไคโตซานเร่งการเจริญเติบโตของรากเป็นส่วนแรก แล้วจึงเร่งการเจริญเติบโตของข้าว

 ประเภท มัน, หัวไชเท้า, แครอท, หัวหอม
(มันฝรั่ง, มันเทศ, มันสำปะหลัง)
1.ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000  ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดลงดินก่อนเพาะปลูก
2.ฉีดครั้งที่สองลงดินหลังเพาะปลูกด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร
3.ฉีดหนึ่งครั้ง เว้น 20 วัน – 1 เดือน ฉีดลงดิน ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร )
**หมายเหตุ** : ควรหลีกเลี่ยงการฉีดที่ใบ เนื่องจากใบจะเจริญเติบโตเร็วแต่ผลจะไม่โต

 สำหรับผักประเภทใบม้วน
(ผักกาดขาว, กะหล่ำปลี, ผักกาดแก้ว)
1.ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000  ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดลงดินก่อนเพาะปลูก
2.ฉีดครั้งที่สองหลังเพาะ ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร
3.ฉีดเดือนละ 2-4 ครั้ง ฉีดที่ใบ ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000   ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร )
**หมายเหตุ** : หยุดฉีดไคโตซานเมื่อใบเริ่มม้วน

 สำหรับผักทั่วไป
(แตงกวา, มะเขือเทศ, มะเขือ, ปวยเล้ง, อ้อย)
1.ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดลงดินก่อนเพาะปลูก
2.ฉีดครั้งที่สองหลังเพาะ ด้ายสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร
3.ฉีดครั้งที่สามเมื่อเริ่มมี 8-10 ใบ ฉีดที่ใบเดือนละ 2-4 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ฉีดพ่นหรือราดลงดิน ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร )

 สำหรับผักโขม, ผักกวางตุ้ง, ผักคะน้า
1. ปรับสภาพดินก่อนปลูก โดยผสมไคโตซาน 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดลงดินบนแปลงเพาะปลูกให้ชุ่ม
2. เคลือบ เมล็ดพันธุ์หรือแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก อัตราส่วน ไคโตซาน 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนปลูก เพื่อป้องกันเชื้อรา กระตุ้นการงอกของรากของเมล็ดพันธุ์ได้ดี เร่งรากให้เจริญเร็วดูดรับสารอาหารได้มากขึ้น
3.ฉีดครั้งที่สองหรือราดลงดินบนแปลงเพาะปลูกหลังเพาะปลูก 2 วัน ด้วยสารละลายไคโตซาน 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
4.ฉีดพ่นหรือราดลงดินบนแปลงเพาะปลูกทุก 7 วัน หรือฉีดที่ใบเดือนละ 2-4 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ด้วยสารละลายไคโตซาน 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

 สำหรับผลไม้
1.ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดลงดินก่อนเพาะปลูก
2.ฉีดครั้งที่สองหลังเพาะ ด้ายสารละลายไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร)
3.ฉีดครั้งที่สามลงดินเดือนละ 2-4 ครั้ง ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000   ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร )

 สำหรับดอกกล้วยไม้
ฉีดสารละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000 ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร)
โดยหลีกเลี่ยงดอกและเกสร เดือนละ 2 ครั้ง
**หมายเหตุ** : ห้ามฉีดสารละลายไคโตซานที่เข้มข้นกว่าที่ระบุ

 สำหรับไม้ดอกทุกชนิด ยกเว้นดอกกล้วยไม้
1.ละลายไคโตซานกับน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร) 
ฉีดลงดินก่อนเพาะปลูก
2.ฉีดครั้งที่สองหลังเพาะ ด้ายสารละลายไคโตซาน 1,000  ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 1,000   ลิตร (20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร)
3.ฉีดครั้งที่สามลงดินเดือนละ 2-4 ครั้ง ด้วยสารละลายไคโตซาน 1,000   ml. 1 แกลลอน ผสมน้ำ 2,000 ลิตร (10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร )

 สำหรับผสมอาหารสัตว์
อาหารไก่,หมู,วัว
1.ผสมไคโตซานกับอาหารสัตว์ในอัตราส่วน ไคโตซาน 5-10 ซี.ซี. ต่อ อาหารสัตว์ 1 กิโลกรัม และให้สัตว์ทุกวัน สามารถเพิ่มภูมิต้านทาน เร่งการเจริญเติบโต ขับโลหะจากสัตว์ และเพิ่มคุณภาพของเนื้อสัตว์
2.สำหรับไก่ ผสมไคโตซานกับน้ำดื่มของไก่ในอัตราส่วน ไคโตซาน 250 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร สามารถลดการแตกของไข่ ลดการตายของลูกไก่ เพิ่มระยะออกไข่ และคุณสมบัติเหมือนข้อ 1

 สำหรับผสมปุ๋ยอินทรีย์ 
ผสมไคโตซานกับปุ๋ยในอัตราส่วน ไคโตซาน 5-10 ซี.ซี. ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 1 กิโลกรัม ผสมลงดินที่จะเพาะปลูกหนึ่งครั้งก่อนออกดอกหนึ่งครั้ง แนะนำสำหรับช่วงหน้าฝน และพื้นที่ที่มีน้ำกักขัง

 สำหรับฆ่าเชื้อและยับยั้งการเน่าของผักและผลไม้
ผสมไคโตซานและน้ำในอัตราส่วน ไคโตซาน 250 ซี.ซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร หลังจากนั้น แช่ผัก และผลไม้ 2-5 นาที สามารถฆ่าเชื้อและยับยั้งการเน่าของผักและผลไม้

ข้อควรระวังในการใช้ไคโตซาน :
1.ทางบริษัทมั่นใจถึงประสิทธิภาพของสินค้า และประสิทธิภาพของไคโตซานอาจลดลงหากใช้ ไคโตซานที่เกิน 1 ปี หลังการผลิต
2.ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง
3.หากจะใช้สารผสมไคโตซานกับปุ๋ยน้ำ ให้ทดลองผสมในปริมาณเล็กน้อย หากไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันไม่ควรใช้
4.ไคโตซานเป็นสารที่ช่วยทำให้ แบคทีเรียในดินเจริญเติบโตได้ดีช่วยย่อยสลายธาตุอาหารของพืช จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ย

อัตราการใช้ไคโตซานแบบต่างๆ
ผสมอาหารสัตว์ 5-10 CC : อาหาร  1 กก.
ผสมน้ำให้สัตว์  250 CC : น้ำ 100 L.
ไคโตซานผสมปุ๋ยอินทรีย์  5-10  CC : ปุ๋ย 1 กก.
ฆ่าเชื้อและยับยั้งการเน่าของผักและผลไม้ 250 CC : น้ำ 200 L. แช่ผักและผลไม้ 2-5 นาที

วิธีใช้ ทั่วไป 1 CC ต่อน้ำ 1 ลิตร
ปริมาณ 1 แกลลอน บรรจุ 1 ลิตร
                                
 ประสบการณ์การใช้ไคโตซานฟาร์มโอเค
เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง 
 
 ประสบการณ์การใช้ไคโตซานฟาร์มโอเค
เกษตรกรนาข้าว

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้