รู้จักตาบอดกลางคืน อาการมองเห็นไม่ชัดในที่มืดที่ไม่ควรมองข้าม

Last updated: 15 ธ.ค. 2567  |  23 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้จักตาบอดกลางคืน อาการมองเห็นไม่ชัดในที่มืดที่ไม่ควรมองข้าม

รู้จักตาบอดกลางคืน อาการมองเห็นไม่ชัดในที่มืดที่ไม่ควรมองข้าม

ตาบอดกลางคืน (Night Blindness) ไม่ได้หมายถึงการมองไม่เห็นอะไรเลยในเวลากลางคืน แต่เป็นภาวะที่ดวงตาไม่สามารถปรับการมองเห็นได้เมื่ออยู่ในที่มืดหรือที่แสงสลัว ทำให้มีอาการมองเห็นไม่ชัดเจน ตาบอดกลางคืนเป็นอาการที่บ่งบอกความผิดปกติของดวงตา โดยเฉพาะจอตา (Retina) ที่ไม่ควรละเลย

ตาบอดกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุสามารถรักษาให้หายได้ แต่บางสาเหตุอาจไม่สามารถรักษาให้หายและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว ซึ่งหากทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืนและรับการรักษาโดยแพทย์อย่างเหมาะสม อาจช่วยให้อาการตาบอดกลางคืนดีขึ้นได้

ตาบอดกลางคืนเป็นอย่างไร?
ดวงตาเป็นอวัยวะที่ไวต่อแสง สามารถปรับการมองเห็นตามแสงสว่างได้ตลอดเวลา เมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงน้อย รูม่านตาจะขยายใหญ่เพื่อให้แสงตกกระทบเข้าสู่ดวงตามากขึ้น โดยมีเซลล์รับแสงในจอตาทำหน้าที่รับแสงจากวัตถุที่เรากำลังมองอยู่ แล้วส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อแปลผลข้อมูลและสร้างเป็นภาพให้เรามองเห็น

จอตาประกอบด้วยเซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ซึ่งเป็นเซลล์รับแสงที่ช่วยให้มองเห็นในเวลากลางคืนหรือในที่ที่มีแสงสลัว หากเกิดความเสียหายที่เซลล์นี้ เช่น มีการบาดเจ็บบริเวณดวงตาหรือโรคตา อาจทำให้เกิดภาวะตาบอดกลางคืนได้

อาการตาบอดกลางคืนมักทำให้มองเห็นไม่ชัดในที่มืดสลัวหรือมีแสงน้อย โดยเฉพาะเมื่อต้องปรับสายตาจากบริเวณที่มีแสงสว่างมากไปยังที่มืดอย่างรวดเร็ว เช่น เดินจากสถานที่ที่มีแดดหรือห้องที่ไฟสว่างจ้าเข้าไปในห้องที่แสงสลัว หรือขณะขับรถบนถนนที่มีไฟสว่างและมืดอย่างไม่สม่ำเสมอ อาการเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อการใช้สายตาในชีวิตประจำวันและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้

ตาบอดกลางคืนเกิดจากอะไร
ตาบอดกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ความผิดปกติของการมองเห็นและโรคตา เช่น สายตาสั้น ต้อกระจก ต้อหิน กระจกตาย้วย (Keratoconus) รวมทั้งผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และผู้ป่วยเบาหวานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ดวงตา เช่น   ต้อกระจก
  • การขาดวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานของดวงตา คนทั่วไปได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้ และผู้ที่มีโรคตับอ่อนทำงานผิดปกติจะเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอได้ง่าย เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ที่ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันยาก ไม่สามารถดูดซึมวิตามินเอซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้เหมือนคนทั่วไป
    โรคทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้น้อย เช่น กลุ่มอาการอัชเชอร์ (Usher Syndrome)
  • โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ตาบอดและหูหนวก และโรคอาร์พี (Retinitis Pigmentosa) หรือโรคจอประสาทตามีสารสี
    ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาต้อหิน เช่น ยาพิโลคาร์พีน (Pilocarpine) และยาหยอดตาที่มีสารกันเสีย ซึ่งทำให้รูม่านตาหดตัวและรับแสงได้น้อยลง
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการทำเลสิก (Lasik) 

ตาบอดกลางคืนรักษาอย่างไร
การรักษาตาบอดกลางคืนจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แพทย์จะทำการซักถามประวัติ โรคประจำตัว และการใช้ยา จากนั้นจะตรวจดวงตาเบื้องต้นหรือตรวจเลือดเพื่อดูระดับกลูโคสและวิตามินเอในเลือด แล้วจึงรักษาตามสาเหตุ ดังนี้

  1. สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ปรับค่าสายตา ซึ่งช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน
  2. เปลี่ยนยารักษาต้อหิน หรือเปลี่ยนไปใช้ยาหยอดตาที่ไม่มีส่วนประกอบของสารกันเสีย เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ตาบอดกลางคืน
  3. ผ่าตัดรักษาต้อกระจก โดยผ่านำเลนส์ตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมทดแทน ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
  4. ดูแลดวงตาด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A เช่น แครอท ผักใบเขียว และวิตามินบำรุงสายตา เช่น ลูทีนและซีแซนทีน จะช่วยบำรุงสุขภาพตาและลดความเสี่ยงจากโรคนี้
AI Pro เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารสำคัญอย่างลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยบำรุงและปกป้องสุขภาพดวงตา ลูทีนและซีแซนทีนมีคุณสมบัติในการกรองแสงสีฟ้าและช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นในที่มืดหรือกลางคืน การรับประทาน AI Pro จะช่วยลดอาการมองไม่ชัดในตอนกลางคืนและบำรุงสายตาให้ดีขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้