Last updated: 17 พ.ค. 2564 | 1761 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคเก๊าท์เกิดจาก
โรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงมากในเลือด สะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกนั้นตกตระกอนอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวดแดงร้อนที่ข้อ ถ้ากรดยูริกสะสมตามผิวหนังจะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตจะทำให้เกิดนิ่วในไตและไตเสื่อมได้ในที่สุด
กรดยูริก คืออะไร
กรดยูริก เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดจากการที่เรารับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนจะพบในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติร่างกายสามารถขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้ แต่บางคนร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกได้หมด ทำให้มีกรดยูริกสะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อและกระดูก ผนังหลอดเลือดและไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคเก๊าท์
สาเหตุของโรคเก๊าท์
โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการที่ไตขับถ่ายกรดยูริคน้อยเกินไป โดยมักเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เพศและฮอร์โมนทางเพศด้วย เพราะเก๊าท์พบบ่อยในชายวันกลางคนมากกว่าเพศหญิงราว 9-10 เท่า และเพศหญิงมักจะเป็นโรคเก๊าท์ในวัยสูงอายุ หรือหลังจากหมดระดูไปแล้ว 10-20 ปี
ผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัวอื่นอยู่แล้วหรือกินยาที่ใช้รักษาตัว เป็นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงจนเกิดอาการโรคเก๊าท์เป็นผลพวงตามมา ตัวอย่าง เช่น
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดโลหิตขาวบางชนิด
โรคไตวายเรื้อรัง
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจบางชนิด
และผู้ป่วยที่กินยาประจำบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแอสไพรินขนาดน้อยๆ ยาต้านวัณโรค เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก โรงพยาบาลธนบุรี
15 ก.ย. 2567
15 ก.ย. 2567
10 ก.ย. 2567