ภัยร้ายจาก “สารพิษ” ตกค้าง ในร่างกาย “อันตราย” แค่ไหน
ร่างกายของมนุษย์ต้องการสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย แต่อาหารที่เราทานเข้าไป ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ล้วนแล้วแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกิดกว่าที่เซลล์และเนื้อเยื่อของเราจะดูดซึมเข้าไปได้ ดังนั้น นี่จึงเป็นหน้าที่สำคัญของระบบย่อยอาหาร หรือระบบทางเดินอาหาร ที่จะย่อยอาหารต่าง ๆ ให้เล็กลงจนลำเลียงเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ได้ มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ...แล้วโมเลกุลของสารอาหารต้องเล็กขนาดไหนจึงจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ คำตอบก็คือ สารอาหารต้องถูกย่อยจนกลายเป็นสารโมเลกุลเดี่ยว คือ
คาร์โบไฮเดรต กลายเป็น กลูโคส (เดกซ์โทรส), ฟรักโทส, กาแลกโทส
โปรตีน กลายเป็น กรดอะมิโน
ไขมัน กลายเป็น กรดไขมัน กลีเซอรอล
วิตามิน และเกลือแร่นั้น มีโมเลกุลขนาดเล็กอยู่แล้ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็สามารถดูดซึมเข้าไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหาร
และอย่างที่รู้ว่า อาหารทุกชนิดที่เราทานเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้วสารอาหารจะถูกดูดซึมกลับไปเป็นพลังงานให้ร่างกาย ส่วนที่เหลือคือกากอาหารจะถูกขับออกมาเป็นอุจจาระ ดังนั้น เราจำเป็นต้องขับถ่ายของเสียเหล่านี้ออก เพราะหากปล่อยให้ของเสียสะสมนานเกินไปอาจเกิดอาการท้องอืดหรือท้องผูกจนถึงขั้นเป็นริดสีดวงทวารได้
เรามารู้จักระบบการย่อยอาหารในร่างกาย โดยทั่วไปทางเดินอาหารของมนุษย์จะมีความยาวประมาณ 7 เมตรครึ่ง หรือ 25 ฟุต ประกอบด้วยอวัยวะมากมายที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งแต่ละอวัยวะก็มีหน้าที่ดังนี้
* ปาก (Mouth)
ปาก คือด่านแรกของระบบย่อยอาหาร เพราะเมื่อเราหยิบอาหารเข้าปาก อวัยวะภายในช่องปากก็จะเริ่มช่วยกันย่อยอาหารทันที คือ
ฟัน จะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง มนุษย์เราจะมีฟัน 2 ชุด ชุดแรก เรียกฟันน้ำนม มี 20 ซี่ ส่วนชุดที่ 2 เรียกฟันแท้ มี 32 ซี่ แต่บางคนอาจมีน้อยกว่านั้น เนื่องจากฟันขึ้นไม่ครบ
น้ำลาย ในช่องปากนั้นมีต่อมน้ำลาย 3 คู่ สามารถผลิตน้ำลายได้วันละประมาณ 1-1.5 ลิตร โดยต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุดอยู่ข้างกกหูในน้ำลายนั้นจะมีเอนไซม์ "อะไมเลส" หรือ ไทยาลีน" ที่ช่วยย่อยแป้งให้เป็นเดกซ์ทริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้ำตาล และถูกย่อยต่อไปจนเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ น้ำตาลมอลโทส (maltose) นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยให้อาหารอ่อนตัว เพื่อกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ลิ้น ทำหน้าที่รับรสชาติของอาหาร เกลี่ยอาหารให้ฟันบด คลุกเคล้าอาหารให้เป็นก้อน เพื่อสะดวกในการกลืนอาหาร
* คอหอย (Pharynx)
เป็นท่ออยู่หลังหลอดลมและปาก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหาร ตรงส่วนนี้ไม่มีการย่อยใด ๆ เกิดขึ้น
* หลอดอาหาร (Esophagus)
เป็นกล้ามเนื้อเรียบอยู่ต่อจากคอหอยมีความยาวประมาณ 23-25 เซนติเมตร ทำหน้าที่คอยรับอาหารจากคอหอยส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร ในลักษณะการบีบรัดกล้ามเนื้อเป็นลูกคลื่น เรียกว่า "เพอริสตัสซิส (peristalsis)" เพื่อไล่ให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร
* กระเพาะอาหาร (Stomach)
มีลักษณะเป็นถุงใหญ่ มีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่หากทานอาหารเข้าไปจะสามารถขยายตัวได้ถึง 10-40 เท่า โดยภายในกระเพาะอาหารจะมีลักษณะเป็นลูกคลื่น และใช้วิธีบีบตัวเพื่อทำให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อยที่ผลิตออกมาช่วยย่อยอาหาร ก่อนจะส่งผ่านอาหารต่อไปยังลำไส้เล็ก
ในกระเพาะอาหารนั้นจะมีการสร้างเอนไซม์อยู่หลายชนิด ประกอบด้วย
1.กรดเกลือ หรือ กรดไฮโดรคลอริก ช่วยทำให้กระเพาะมีสภาพเป็นกรด เหมาะแก่การทำงานของน้ำย่อย ช่วยทำให้อาหารอ่อนตัว ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และหน้าที่สำคัญคือ เปลี่ยน "เพปซิโนเจน" ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่ไม่มีฤทธิ์ ให้กลายเป็น "เพปซิน" ที่จะช่วยย่อยโปรตีนจากพืชและสัตว์ให้เป็น "เปปไทด์" ซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็กลงได้ (แต่ยังไม่เล็กพอที่จะแพร่เข้าสู่เซลล์ ต้องไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก)
2.เพปซิโนเจนเป็นน้ำย่อยที่ไม่มีฤทธิ์ต้องไปรวมกับกรดเกลือก่อนจึงจะกลายเป็นน้ำย่อย "เพปซิน" ช่วยย่อยโปรตีนได้
3.โพรเรนนินหากผสมกับกรดเกลือจะกลายเป็น "เรนนิน" ช่วยย่อยโปรตีนในนมให้กลายเป็นเคซีน แล้วไปรวมตัวกับแคลเซียม ก่อนจะถูกเพปซินย่อยต่อไป สำหรับผู้ใหญ่ไม่มีน้ำย่อยนี้ หรือมีน้อย จะเกิดอาการท้องเสียเมื่อดื่มนม
4.มิวซินมีหน้าที่เคลือบกระเพาะทําให้ความเป็นกรดลดลง
5.แกสทริกไลเปสเป็นน้ำย่อยช่วยย่อยไขมัน แต่สร้างออกมาในปริมาณที่น้อยมาก เพราะสภาพเป็นกรดของกระเพาะอาหาร
6.อินทรินสิกแฟคเตอร์ ช่วยดูดซึมวิตามินบี 12
7.แกสตรินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหารทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารที่สร้างน้ำย่อย และกรดไฮโดรคลอริก หลั่งเอนไซม์หรือน้ำย่อย และกรดไฮโดรคลอลิกออกมาย่อยอาหาร หากเราทานอาหารเข้าไปแล้วเมื่ออาหารถูกส่งถึงกระเพาะอาหารก็จะใช้เวลาย่อยอาหารภายในกระเพาะอาหาร ประมาณ 2-4 ชั่วโมง จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร และการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วย เมื่อย่อยอาหารเสร็จสิ้น ก็จะส่งอาหารต่อไปยังลำไส้เล็ก โดยมีกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารตอนล่างคอยปิดกั้นไม่ให้น้ำดีไหลย้อนกลับเข้ามาในกระเพาะอาหารทั้งนี้ในกระเพาะอาหารนั้นจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ ยกเว้นพวกแอลกอฮอล์ ยาบางชนิดที่เป็นกรดและน้ำ ที่กระเพาะอาหารอาจดูดซึมได้ แต่ก็ไม่เกินร้อยละ 30 โดยส่วนที่เหลือจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
* ลำไส้เล็ก (Small Intestine) มีความยาวประมาณ 7 เมตร ขดไปมาอยู่ภายในช่องท้องส่วนบน แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีต่อมสร้างน้ำย่อยและเป็นตำแหน่งที่รับของเหลวจากตับอ่อน และน้ำดีจากตับ จึงเป็นส่วนที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นมากที่สุด แต่จะสามารถดูดซึมอาหารได้บางชนิดเท่านั้น
ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejumnum) ยาวประมาณ 2.5 เมตร ทำหน้าที่ดูดซึมอาหาร
ลำไส้เล็กตอนปลาย (Ileum) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดคือยาวประมาณ 4 เมตร ทำหน้าที่ดูดซึมอาหาร
ลำไส้เล็กเป็นอวัยวะสำคัญของระบบย่อยอาหาร เพราะอาหารส่วนใหญ่จะถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็กนี้ ดังนั้น ผนังของลำไส้จึงมีลักษณะขรุขระเป็นปุ่ม ๆ ไม่เรียบเรียกว่า "วิลลัส" (Villus) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจากผนังลำไส้เล็ก หรือเรียกว่า "ปุ่มซึม" มีประมาณ 5 ล้านอัน ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร ภายในปุ่มมีเส้นเลือดฝอยมากมาย เพื่อรับอาหารที่ถูกย่อยแล้วดูดซึมเข้ามา
* ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)
เป็นหนึ่งในอวัยวะของระบบย่อยอาหารแต่ไม่ได้มีหน้าที่ย่อยอาหารเพราะลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่เก็บกากอาหารดูดซึมน้ำให้ออกจากกากอาหารเหลือของเหลวไว้ประมาณ 150 มิลลิลิตร ส่วนที่เหลือจะถ่ายออกไปเป็นอุจจาระ โดยกากอาหารจะอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน 12-24 ชั่วโมง นอกจากนี้ลำไส้ใหญ่ยังมีหน้าที่ดูดน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหารให้ดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดการทำงานของลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเป็นระลอก วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อไล่อุจจาระไปตามลำไส้ตรงอุจจาระที่ลำไส้ตรงจะกระตุ้นหูรูดทวารหนักให้เปิดออกทำให้เรารู้สึกปวดอุจจาระ อุจจาระที่ขับออกมาจะมีกลิ่นเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทานอะไรเข้าไป และขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของแต่ละคนด้วย โดยแบคทีเรียที่อยู่ที่ในลำไส้ใหญ่นี้จะช่วยสร้างวิตามินเค และวิตามินบีหลายชนิด แต่แบคทีเรียก็จะทำให้กากอาหารจำพวกโปรตีนให้มีกลิ่นแรง ซึ่งกลิ่นเหล่านี้จะออกมากับการผายลมและอุจจาระ ทั้งนี้ ในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นจะมี "ไส้ติ่ง" (vermiform appendix) อยู่ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่มีประโยชน์อะไรในมนุษย์ มีความยาวประมาณ 2-20 เซนติเมตร ไส้ติ่งในผู้ชายจะยาวกว่าผู้หญิงเล็กน้อย
ลำไส้ตรง (Rectum)
เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อตรง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการเปิดปิดของทวารหนัก ทำหน้าที่เก็บกากอาหาร บริเวณนี้จะอุดมไปด้วยจุลินทรีย์และเซลลูโลส
* ทวารหนัก (Anus)
อวัยวะส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่เป็นช่องแคบๆยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ทำหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระภายในประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ หูรูดภายใน (Internal Sphincter) และหูรูดภายนอก (External Sphincter) ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ทำหน้าที่ปิดกักกากอาหารไว้ เมื่อต้องการขับถ่ายกากอาหารหูรูดเหล่านี้ก็จะหย่อนยอมให้กากอาหารผ่านออกไปได้
นอกจาก ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ แล้ว ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารด้วย ได้แก่
* ตับ (Liver) และถุงน้ำดี (Gallbladder)
หน้าที่ของตับที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารก็คือ "สร้างน้ำดี" ซึ่งเป็นน้ำสีเหลืองเขียว ที่จะช่วยย่อยไขมัน เมื่อสร้างน้ำดีแล้วก็จะส่งไปเก็บไว้ที่ "ถุงน้ำดี" ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณพื้นล่างของตับในช่วงที่ไม่มีการย่อยอาหาร ถุงน้ำดีจะขังน้ำดีเอาไว้ แต่เมื่ออาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น อาหารที่เป็นไขมันไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่หลอดเลือด แล้วไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อถุงน้ำดีบีบตัว และปล่อยน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อย่อยไขมัน น้ำดีจะทำให้ไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ เพื่อสะดวกต่อการย่อยและดูดซึม นอกจากนั้นน้ำดียังทำหน้าที่ดูดซึมวิตามินเอ และช่วยขับของเสียอื่นๆออกจากร่างกาย หากถุงน้ำดีมีนิ่วเกิดขึ้นและอุดตัน เมื่อมีการบีบตัวจะเจ็บปวดรุนแรงมาก แพทย์จะต้องตัดถุงน้ำดีออก แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ตัดถุงน้ำดีออกแล้วก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเพราะน้ำดีสามารถไหลเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นได้โดยตรง
* ตับอ่อน (Pancreas)
หน้าที่สำคัญของตับอ่อนที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารก็คือ สร้างน้ำย่อยอันประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิดมาช่วยลำไส้เล็กย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ให้มีขนาดเล็กลง จนสามารถซึมผ่านผนังของลำไส้เข้าสู่ร่างกายได้ ประกอบด้วยน้ำย่อยทริปซิน (ย่อยโปรตีน), อะไมเลส (ย่อยแป้ง) และไลเปส (ย่อยไขมัน)
นอกจากนี้ตับอ่อนยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนออกมาเพื่อลดความเป็นกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร ส่วนหน้าที่ของตับอ่อนอีกประการที่ไม่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็คือ ช่วยสร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น "อินซูลิน" ส่งเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
ทำไมต้อง DETOX เคยสงสัยกันไหมว่า เรา ดีท็อกซ์ (DETOX) ลำไส้ กันไปทำไม? แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ทำตามกระแส แต่เพื่อสุขภาพของตัวเราเอง ด้วยวีถีชีวิตของเราทุกวันนี้กินแต่อาหารสมัยใหม่ที่เป็นแป้งขัดขาว น้ำตาล เนื้อสัตว์ ไขมัน เมื่อผ่านการย่อยจะไม่เหลือเป็นกากอาหารเพียงพอให้ถูกขับออกจากร่างกายโดยง่าย สิ่งที่เหลือหลังการย่อยจะอยู่ในสภาพเหนียวหนับเมื่อผ่านจากลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ กากอาหารที่เหนียวหนับดังกล่าวจะเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ด้วยความลำบาก และมักเกาะเป็นตะกรันบนผนังลำไส้ใหญ่บวกกับเซลล์เก่าๆของผนังลำไส้ที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนตามธรรมชาติจะกลายเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของแบคทีเรียชนิดเลว เมื่อแบคทีเรียย่อยสลายทั้งกากอาหาร และเซลล์ผนังลำไส้ที่หลุดลอกตายไป ก็จะเกิดการบูดเน่าขึ้นในลำไส้ ผลที่เกิดจากการนี้ก็คือ ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น และ “สารพิษ”
จะมีสักกี่คนทราบบ้างว่า การขับถ่ายตามธรรมชาตินั้นคราบตะกรันที่เกาะบนผนังลำไส้ใหญ่มิได้ถูกขับออกมาจนหมดเกลี้ยง หากยังคงมีเหลืออยู่ และเมื่อคราบตะกรันเหล่านี้ค้างอยู่นานวันก็จะพอกตัวหนาและแข็งขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นด่านปิดกั้นการดูดซึมสารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่กลับคืนสู่ร่างกาย นอกจากนั้นคราบตะกรันที่พอกหนาขึ้นๆ เหล่านี้ จะทำให้ช่องในหลอดลำไส้ใหญ่แคบลงๆ ช่องทางให้กากอาหารผ่านไปได้จึงเหลือน้อยลง ไม่เพียงเท่านั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ยังบีบไล่กากอาหารไม่ได้ตามปกติ รวมถึงกีดขวางมิให้ผนังลำไส้ขับสารหล่อลื่นออกมาจนเกิดความแห้งฝืดขึ้นภายใน เมื่ออุจจาระถูกขัดขวางจนเคลื่อนตัวได้ไม่สะดวกจึงคั่งค้างหมักหมมอยู่ภายในลำไส้ เป็นจุดเริ่มต้นของโรคคนเมืองอย่าง “อาการท้องผูก” เมื่อถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก นานวันเข้าก็กลายเป็นท้องผูกเรื้อรัง คงไม่มีใครปฏิเสธว่าอาการท้องผูกนั้นสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้คนเราอย่างมาก ทั้งความอึดอัดไม่สบายในช่องท้อง การต้องเบ่งอุจจาระที่แข็งมากๆ จนบางทีครูดให้เกิดแผล ไปจนถึงริดสีดวงทวาร
นอกจากนั้นคราบตะกรันและกากอาหารในลำไส้ใหญ่ที่คั่งค้างอยู่อาจจะส่งผลให้โครงสร้างหรือขนาดของลำไส้ใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปทรงปกติได้ เช่น มีลักษณะโป่งพองออก หรืออาจตีบแคบจนกากอาหารผ่านไปได้ยาก หรือถ้ามีแรงดันภายในโพรงลำไส้สูงขึ้นก็อาจดันผนังลำไส้ใหญ่จนปูดโป่งเป็นติ่งเป็นถุง ที่เรียกว่า ไดเวอร์ติคูลา (Diverticula) ถ้ามีอุจจาระไปค้างอยู่ในโพรงถุงเหล่านี้ อาจเกิดการติดเชื้อและอักเสบรุนแรงได้ ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นก็เรื่องของ “สารพิษ” สารพิษที่สะสมภายในลำไส้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและเป็นต้นตอของอาการผิดปกติหลายอย่างในร่างกาย ถ้าคุณหมั่นสังเกตร่างกายตนเองอยู่เสมอ ก็อาจตรวจพบอาการเตือนเบื้องต้นที่เกิดจากการสะสมสารพิษในร่างกาย เช่น มีกลิ่นตัว ลมหายใจมีกลิ่น สมองไม่แจ่มใส การขับถ่ายไม่ปกติ ซึมเศร้า หงุดหงิด อ่อนเพลีย อึดอัดไม่สบายตัว หรืออาการแพ้ต่างๆ อาทิ ลมพิษ จามและไอ เป็นต้น อาการแสดงซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของการสะสมสารพิษในร่างกายดังกล่าว คนส่วนใหญ่มักละเลยไม่เอาใจใส่เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าร่างกายสะสมสารพิษต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ อาทิ
ปากแห้ง ปากเปื่อย ลมหายใจและกลิ่นตัวรุนแรงขึ้น
ปวดศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน เวียนศีรษะ และมีไข้ต่ำๆ ตลอดเวลา
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ ผายลมบ่อยๆ
ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นประจำ
ท้องผูกเรื้อรัง ถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก
ริดสีดวงทวารภายนอก หรือภายใน
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มีผื่นคันขึ้นตามตัว เป็นแผล และเป็นฝีบ่อยๆ
ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อและกระดูก รูมาตอยด์
โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเป็นทางหนึ่งที่ช่วย ล้างพิษ และฟื้นฟูสุขภาพลำไส้ใหญ่ของเราได้ แต่คราบตะกรันที่เกาะคั่งค้างเป็นเวลานานนั้นไม่ง่ายเลยที่จะขจัดออกจึงจำเป็นที่เราจะต้องพึ่งพาวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่าง ดีท็อกซ์ เพื่อล้างคราบตะกรันที่เกาะผนังลำไส้ และช่วย ล้างพิษ ที่สะสมในลำไส้ออกไป
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ไอเบอร์รี่ ดีท็อกซ์ ( IBERRY DETOX )
นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่เป็นตัวช่วยอย่างง่ายๆไม่ยุ่งยาก ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถล้างสารพิษ และต้านอนุมูลอิสระได้ในหนึ่งเดียวด้วยสูตรอาหารจากผลไม้ธรรมชาติล้างพิษลำไส้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ส่วนประกอบจากธรรมชาติที่ลงตัว โดยจะช่วยชำระล้างพิษในลำไส้ ให้ระบบทางเดินอาหารสะอาด ไม่มีของเสียตกค้าง และยังให้ลำไส้แข็งแรง ขับสารพิษได้ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพโดยรวมที่แข็งแรงมีการเผาพลาญอาหารและไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ด้วยหลักการสูตรเฉพาะ 9 + 5 + 4
9 : DETOX 9 ระบบอวัยวะหลัก
คือ ล้างสารพิษได้ถึง 9 ระบบ หัวใจ ตับ ไต ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระแสเลือด หลอดเลือด
5 : สุขภาพดี 5 ด้านด้วยผักผลไม้ 5 สี “ ไฟโตนิวเทรียนท์ ”
สีเหลือง / ส้ม = บำรุงสายตา
สีแดง = บำรุงเลือด
สีขาว / เทา = รักษาสมดุล
สีม่วง/ดำ = ต้านความเสื่อม
สีเขียว = บำรุงสุขภาพ
4 : ผิวสวย 4 ประการ
- ผิวเรียบเนียน ไร้ริ้วรอย
- ผิวกระชับ เต่งตึง
- ผิวขาว กระจ่างใส
- ผิวดูอ่อนกว่าวัย
คุณประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากสูตร 9+5+4
1. ล้างสารพิษ ( DETOX ) ระบบอวัยวะหลักภายในร่างกาย
2. ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
3. ป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้
4. ป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ
5. ส่งเสริมการสร้างภูมิต้านทานโรค
6.ช่วยปรับสมดุลระบบภายในร่างกาย เช่นระบบฮอร์โมนเพศ
7.ส่งเสริมการทำงานระบบของสายตา เช่นถนอมดวงตา กล้ามเนื้อตา เลนส์ตา
8. ส่งเสริมระบบการฟื้นฟูผิวเรียบเนียนขาวกระจ่างใส ดูอ่อนกว่าวัย
9. ส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักและการลดน้ำหนัก
ส่วนผสมที่ทรงคุณค่า
และมาจากสารสกัดจากธรรมชาติ
1. ผลไม้ตระกูลสูงมิกซ์เบอร์รี่ 10 ชนิด คือ บิลเบอร์รี่ , แบล็กเคอร์เรนท์ , แครนเบอร์รี่ , บลูเบอร์รี่ , อัลเดอร์เบอร์รี่ , เชอร์รี่ , โกจิเบอร์รี่ , แบล็กเบอร์รี่ , ราสเบอร์รี่ , อาไซอิเบอร์รี่
2. สารสกัดกะหล่ำปลี ( Cabbage Powder )
3. สารสกัดจากรากแดนดีเลี่ยน ( Dandelion Root Extract )
4. ไซเลี่ยม ฮัซค์ ( Psyllium Husks )
5. ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ ( Fructooligosaccharide )
6. สารสกัดจากส้มแขก (Garcinia Extract Powder)
7. สารสกัดอัลฟัลฟา (Alfalfa Extract)
8. วิตามินและเกลือแร่
หลักการคุณประโยชน์ของของ
ไอเบอรี่ ดีท็อกซ์ ( IBERRY DETOX )
“ ไฟโตรนิวเทรียนท์ ”Phytochemical หรือ Phytonutrients หรือสารพฤกษเคมี หมายถึง สารสกัดเข้มข้นที่ได้จากผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายคนไทยส่วนมากรับประทานผัก และผลไม้ได้ไม่เพียงพอในแต่ละวันจึงอาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับต่ำการบริโภคผัก และผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวันจะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระ เพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคกระดูกและข้อต่างๆ โรคเบาหวานและความดัน และอื่นๆอีกมากมาย
นักวิทยาศาสตร์พบว่า “ ไฟโตรนิวเทรียนท์ ” สร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ ไฟโตนิวเทรียนท์
ลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน
“ไฟโตรนิวเทรียนท์” 5 โทนสี
มีหน้าที่ดูแลร่างกายดังนี้
1. โทนสีเหลือง / ส้ม เน้นการบำรุง
อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ Carotenoids กับสารไบโออาโวนอยด์ Bioavoniodsจะมีในเชอร์รี่ / โกจิเบอร์รี่ซึ่งเป็นส่วนผสมใน
· บำรุงหัวใจและระบบหลอดเลือด
· บำรุงระบบประสาทสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับสายตา
· ทำหน้าที่ล้างสารพิษ:หัวใจและระบบหลอดเลือด
2. โทนสีแดง : แรงฤทธิ์
อุดมไปด้วยสารสารไลโคฟีน (Lycopene) จะมีในราฟเบอร์รี/แครนเบอร์รี่/สารสกัดจากผลทับทิมเป็นส่วนผสมใน
· ออกฤทธิ์ชะลอความเสื่อมของร่างกาย
· ออกฤทธิ์ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง
· ออกฤทธิ์ชะลอการเกิดริ้วรอย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล
· ทำหน้าที่ล้างสารพิษและไขมันในกระแสเลือดและหลอดเลือด
3. โทนสีม่วง / น้ำเงิน / ดำ : ต้านความเสื่อม
อุดมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) และสารฟีโนนิค (Phenolics) ต้านความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย เช่นหัวใจ/ตับ/ไต/ปอด/ผิวหนัง ซึ่งพบในอัลเดอร์เบอร์รี่ แบล็กเคอร์เรนท์ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ บิลเบอร์รี่ อาไซอิเบอร์รี่ เป็นส่วนผสมใน
· ต้านความเสื่อมที่ระบบประสาทสายตา
· ต้านความเสื่อมระบบทางเดินปัสสาวะ
· ทำหน้าที่ล้างสารพิษ ในระบบไต/ระบบตับ
4. โทนสีขาว / เทา : รักษาสมดุล
อุดมไปด้วยสารสารพวกแอนโธแซนทิน ( Anthoxanthins ) และยังมี อัลลิซิน (Allicin) และธาตุซิลิเนียมซึ่งพบในสารสกัดกระหล่ำปลี/สารสกัดส้มแขก/สารสกัดจากรากแดนดิเลียน/ไซเลี่ยม ฮักส์ เป็นส่วนผสมใน ไอเบอร์รี่ ดีท็อกซ์
· รักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดและลดโคเรสตอรอล
· รักษาสมดุลการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
· รักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศ
· รักษาสมดุลการป้องกันเซลล์มะเร็ง ป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
· ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้อเข่า
· ทำหน้าที่ล้างสารพิษ ที่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ
5. โทนสีเขียว : สายตา
อุดมไปด้วยมีสารกลุ่มคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) , ลูทีน (Lutein) และอินโดเลส (Indoles) ประกอบด้วยเบต้าแคโรทีน แคโรทีนนอยด์ ซึ่งพบในสารสกัดอัลฟัลฟ่า ส่วนผสมใน
· บำรุงสายตา กระดูก และฟันให้แข็งแรง
·ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสายตา ระบบไขข้อ กระดูก กระเพาะอาหาร ฮอร์โมนเพศ
· ทำหน้าที่ ล้างสารพิษที่ปอด หัวใจ ไต กระแสเลือด
“ การล้างพิษ ด้วย
ไอเบอรี่ ดีท็อกซ์” ( IBERRY DETOX ) จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยขจัดสารพิษที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย คล้ายๆกับการอาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ตามร่างกายภายนอก ซึ่งสิ่งที่ได้ตามมาก็คือ ความสดชื่น กับ สุขภาพที่ดีขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้นตามมานั้นเอง เพียงดื่มวันละ 1 แก้ว ก่อนนอนเท่านั้น
ปริมาณ 1 กล่อง บรรจุ 15 ซอง