Last updated: 10 ก.ย. 2567 | 378 จำนวนผู้เข้าชม |
ไคโตซาน คืออะไร?
ไคโตซาน เป็นอนุพันธ์ของไคติน ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่พบมากตามธรรมชาติ โดยมักพบในสัตว์ประเภทที่มีกระดองแข็ง มีเปลือกหุ้ม และขาเป็นปล้อง เช่น ปู กุ้ง กั้ง แมลงต่างๆ รวมถึงกลุ่มของเห็ดและรา โดยมีหมู่อะมิโนที่แสดงถึงคุณสมบัติในการละลายในกรดอินทรีย์เจือจาง สามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี และยังเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพอีกด้วย มีความปลอดภัยสูงต่อทั้งคนและสัตว์เลี้ยง และยังมีสรรพคุณทางด้านต่างๆอีกมากมาย ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านความงาม ด้านการแพทย์ ฯลฯ
ด้านการเกษตร
ไคโตซานช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างเอนไซม์เบต้ากลูคาเนส เกิดสารจำพวกลิกนิน แทนนิน ใบพืช จะหนาเขียว สวย มีนวล ป้องกันการกัด-เจาะจากแมลงสัตว์พืช สังเกตเมื่อใช้ไปสักระยะผิวใบพืชจะมันวาว และยังสามารถใช้ได้กับพืชปักชำ ช่วยกระตุ้นและเร่งราก ช่วยป้องกันและยับยั้งสาเหตุของโรคพืชในกลุ่มของเชื้อราและแบคทีเรีย รบกวนการกัดกินจากแมลงศัตรูพืช ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน พืชสามารถสร้างภูมิต้านทานได้เอง รวมถึงช่วยฟื้นฟูและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินให้สมบูรณ์ เช่น ไตรโคเดอม่า และ เมธาไรเซียม อีกทั้งยังช่วยปรับสภาพดินด้วย ช่วยแก้ไขปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า โรคราน้ำค้าง ราสนิม มีคุณสมบัติเป็นสารจับใบธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้จับกับยาตัวอื่นๆได้ดี และไม่สูญสลายไปกับน้ำ พืชสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ลดการใช้ปุ๋ยและยาลง จึงทำให้ประหยัดต้นทุนของเกษตรกรได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและยับยั้ง เชื้อราไวรัส แบคทีเรียต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคในพืชได้เป็นอย่างดี และช่วยปรับแร่ธาตุ ฮอร์โมนต่างๆในพืชให้เกิดความสมดุล ส่งผลทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
ไคโตซานมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร?
ไคโตซาน ช่วยปรับความสมดุลในดิน
ไคโตซานช่วยปรับสภาพดิน การใช้ไคโคซานต่อเนื่องจะช่วยปรับค่าความเป็นกรดด่างในดินให้เกิดความสมดุลที่ Ph 6-7 เป็นค่าที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
ไคโตซาน ช่วยปลดปล่อยแร่ธาตุต่างๆในดิน
ไคโตซาน ช่อยย่อยสลาย ปลดปล่อยแร่ธาตุ สารเคมี ที่ตกค้างในดินอันเนื่องมาจากการใช้ปุ่ยเคมีอย่างยาวนาน ทำให้พืชนำแร่ธาตุต่างๆมาใช้ได้อีกครั้ง จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี
ไคโตซาน ช่วยบำบัดน้ำ
เนื่องจากไคโตซานมีหมู่เอมีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน จึงสามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีน สีย้อมผ้า และไอออน ของโลหะได้ มีการนำไคโตซานไปใช้ดูดซับสีย้อมผ้าในน้ำทิ้ง และใช้ในการดูดซับไอออนของโลหะในการบำบัดน้ำทิ้ง ได้แก่ ตะกั่ว ทองแดง ปรอท โครเมียม และยูเรเนีย
ไคโตซานพร้อมใช้ ไคโตซานฟาร์มโอเค คือ ไคโตซานบริสุทธิ์ไม่ผสมปุ๋ย เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด
ฟาร์มโอเค นาโนเทค นวัตกรรม 9 ดี
D 1. นวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น
D 2. ไคโตซาน 100% ไม่ผสมเคมี
D 3. เป็นสายพันธุ์สั้น นวัตกรรมระดับนาโน
D 4. เข้มข้นกว่าทั่วไปเท่าตัว
D 5. ใช้ได้ทั้งกับพืชและสัตว์
D 6. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย
D 7. ลดการใช้ยาและสารเคมี
D 8. เพิ่มผลผลิตได้ ไม่ต่ำกว่า 25% ขึ้นไป
D 9. ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
ไคโตซาน ฟาร์มโอเคช่วยกระตุ้นพืชสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช :
ไคโตซานสามารถกระตุ้นการผลิตสารลิกนิน และสารแทนนินให้เพิ่มมากขึ้น พืชสามารถใช้สารเหล่านี้ในการป้องกันตัวจากแมลงศัตรูพืชต่างๆ เข้ามากัด ดูดทำลาย โดยพืชที่ฉีดพ่นไคโตซานเป็นประจำ จะมีสารที่คล้ายแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโคซานช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่นเชื้อ Actinomycete sp. เชื้อ Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ (Furarium) เชื้อ Phythophthora spp. และเชื้อก่อโรคพืชอื่นๆ
ไคโตซานช่วยยับยั้งเชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อก่อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพืช
ไคโตซานสามารถยับยั้ง เชื้อก่อให้เกิดโรคพืชได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อไฟทอปธอรา พิเทียม โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช (รักษาโรคพืช) เช่น โรค แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงเกอร์ โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบสีส้มในนาข้าว และโรคอื่นๆ และยังสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ยังไม่เป็นโรคได้อีกด้วย
ไคโตซานสามารถเป็นสารฆ่าแมลงศัตรูพืชได้
สารอนุพันธฺิ์ของไคติน และไคโตซานถูกนำไปใช้ในการขบวนการผลิตเอ็นไซม์ chitinase ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลง โดยที่เอ็นไซม์ไคติเนส จะย่อยสลายไคติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ของเปลือกหุ้มตัวของแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานเป็นสารช่วยปรับปรุงดิน
ไคตินและไคโตซานสามารถนำมาปรับปรุงดิน ถ้าเป็นดินเหนียวไคตินจะช่วยเพิ่มความพรุนของดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำในดินทรายและดินร่วน และยังทำหน้าที่เป็นสารพาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสารที่เป็นธาตุอาหารรอง และเสริม (micro organic ) โดยไคโตซานจะจับสารเหล่านั้นจนอยู่ในรูปคีเลต แล้วค่อยๆปลดปล่อยออกมาให้พืช ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานในอัตราคงที่ ตามอัตราการย่อยสลายอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน ช่วยลดปัญหา การใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ซึ่งมีผลต่อพืชและสภาพดิน
วิธีใช้ไคโตซาน ฟาร์มโอเค
ใช้ฟาร์มโอเค สำหรับพืช
ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเขื้อสาเหตุโรคพืช
15 ก.ย. 2567
21 มิ.ย. 2567
15 ก.ย. 2567